ประวัติเบียร์

ประวัติเบียร์ เครื่องดื่มชนิดแรกของโลก อียิปต์โบราณมีตำนานว่า swapxcrypto เทพโอซิริสสอนมนุษย์ให้ทำเบียร์ และในเรือของโนอาห์ก็มีบันทึกไว้ว่า ได้บรรจุเบียร์ไปใช้ดื่ม ด้วยระหว่างลอยเรือหนีน้ำท่วมโลก!!!

นานมาแล้ว ธัญพืชเพื่อใช้บริโภค ถูกนำมาหมักเป็นเบียร์ ในแง่ความเป็นจริงเชื่อกันว่าชนเผ่าเร่ร่อนดั้งเดิมสมัยก่อนประวัติศาสตร์รู้จักการทำเบียร์ ตั่งแต่เริ่มการเพาะปลูกธัญพืชเพื่อใช้บริโภคเสียอีก ในสมัยโบราณเปรียบเบียร์เป็นเสมือนขนมปังเหลว เพราะเกิดจากข้าว ชาวอียิปต์โบราณและเยอรมันเปรียบเบียร์ว่าเป็นสุดยอดยารักษาโรค หากดื่มพอเหมาะแล้วจะส่งผลให้เลือดลมดี เพราะในเบียร์มีวิตามินตัวหนึ่งชื่อโฟเลต หรือ กรดโฟลิค ซึ่งมีความเชื่อมโยงในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

เบียร์ถือกำเนิดมาเมื่อกว่า 5,000 ปีก่อน แต่เพิ่งจะแพร่หลายไปทั่วโลกในศตวรรษที่ 19 บริษัทแรกที่นำเข้ามาผลิตเบียร์ในไทยก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2477

ได้มีการเอ่ยถึงสูตรการทำเบียร์ในแผ่นดินเผาของบาบิลอน อายุกว่า 4,000 ปี ว่าในขณะที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีก็ได้พบภาชนะดินเผาอายุร่วม 5,000 ปีที่ภายในถูกนำไปวิเคราะห์ได้ส่วนประกอบที่คล้ายเบียร์ และตำราจากราวปี 1,600 ก่อนคริสตกาล ของอียิปต์กล่าวถึงการผสมสมุนไพรชนิดต่างๆ ลงไปในเบียร์เพื่อใช้เป็นยา เบียร์เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในบาบิลอน อียิปต์ ฮีบรู ฯลฯ รวมทั้งตะวันออกไกล ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างให้กับคนงานก่อสร้างปิรามิด กำแพงเมืองจีน และวิหารต่างๆ ในขณะที่นักเดินทางจะดื่มเบียร์แทนน้ำเปล่าเพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่อยู่ในน้ำ

ประวัติเบียร์ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งทางสหภาพยุโรปเป็นผู้ให้การสนับสนุน ในงานวิจัยชิ้นนี้มีข้อสรุปว่าเบียร์มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะในเบียร์มีวิตามินตัวหนึ่งชื่อโฟเลต หรือกรดโฟลิค หากดื่มพอเหมาะแล้วส่งผลเลือดลมดีมีการแนะให้คนดื่มเบียร์วันละ 1 ลิตร แต่นั้นคงเป็นปริมาณสำหรับชาวยุโรป เพราะอย่างชาวเมืองเบียร์หรือชาวเยอรมันนั้นการดื่มเบียร์ ถือเป็นเรื่องปกติเพราะเบียร์ของเขาแอลกอฮอล์ไม่สูงนัก ส่วนใหญ่ไม่เกิน 5% การดื่มเบียร์แทนนํ้าถือเป็นเรื่องธรรมดาเสียด้วยซ้ำ จากสถิติชาวเยอรมันดื่มเบียร์มากที่สุดในโลกเฉลี่ยคนละกว่า 160 ลิตรต่อปี ตามด้วยเบลเยียม และเชคโกฯ ซึ่งเป็นชาติที่ผลิตเบียร์ได้ยอดเยี่ยมทั้งสิ้น

เบียร์ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย แร่ธาตุอย่าง แคลเซียม วิตามิน บี 1 ไรโบฟลาวิน และแคลอรี่สูง เบียร์ขวดเล็กหรือกระป๋องเล็กมีพลังงานระหว่าง 100-150 แคลอรี่ นับว่าสูงมาก เบียร์กับไวน์เป็นเหล้าหมัก คุณค่าทางโภชนาการจึงสูงกว่าเหล้ากลั่นอย่างวิสกี้ เบอร์เบิร์น ฯลฯ

คนไทยยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหลายอย่างเรื่องเบียร์ เช่น การแช่เบียร์จนเป็นวุ้น ซึ่งจะไม่ได้รสชาติที่แท้จริงอันเกิดจากฮอฟส์และมอลต์ ทั้ง 2 อย่างถือเป็นเสน่ห์สำคัญของเบียร์ อุณหภูมิที่เหมาะกับเบียร์ส่วนใหญ่ คือ 4-5 องศาเซลเซียส ส่วนการใส่นํ้าแข็งพอรับได้เล็กน้อย อีกอย่างคือคนไทยร้อยทั้งร้อยไม่ชอบฟองเบียร์ แต่ก็ไม่มีใครสามารถให้เหตุผลที่แท้จริงได้ แต่สำหรับคอเบียร์รู้ดีว่าเบียร์ที่มีฟองและคงอยู่นาน แสดงว่าเป็นเบียร์คุณภาพสูง ดังนั้น การรินเบียร์จึงควรจะให้มีฟอง 1 ใน 5

ในการหมักเบียร์ เรานำยีสต์ที่ใช้ทำขนมปังมาใช้ WBWT69 หลายคนคงจะนึกไม่ถึงว่าเซลล์ยีสต์ที่เรานำมาใช้ทำขนมปัง หรือใช้ในการหมักเบียร์นี้ จะเป็นแหล่งสะสมสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงหลายชนิด เช่น โปรตีน และวิตามิน บีรวม ดังนั้นจึงมีการนำเซลล์ยีสต์เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ทำอาหารสัตว์ อาหารเสริมสุขภาพ รวมทั้งการนำมาใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหาร ซึ่งมีใช้กันมานานแล้วในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึง ก็คือ สุขภาพของตัวเอง แม้รู้ว่ามีประโยชน์ แต่ขึ้นชื่อว่าแอลกอฮอล์แล้ว ย่อมจะมีโทษเป็นธรรมดา หากดื่มเบียร์ในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำลายสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาทางตรง อาจทำให้สมองของคุณทำงานไม่เต็มที่ แล้วยังมี ผลเสียต่อร่างกายอีกหลายอย่าง หากจำเป็นต้องดื่มก็ควรดื่มแต่พอดี อาจจะเป็นยาบำรุงเลือดคุณสาวๆได้และในทางอ้อม หรือปัญหาลูกโซ่อาจทำให้ครอบครัวคุณแตกแยกหากดื่มแล้วไม่สามารถครองสติได้ และยังอาจทำให้คุณยอมแพ้การล่อใจอื่นๆ ง่ายมากด้วย ฉะนั้นก่อนจะดื่ม อย่าลืมคำนึงถึงระดับความสามารถในการดื่มของคุณก่อนด้วย

เอาเป็นว่าดื่มพอเป็นกระษัย เป็นดีที่สุด

Search

About

Lorem Ipsum has been the industrys standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

Lorem Ipsum has been the industrys standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book. It has survived not only five centuries, but also the leap into electronic typesetting, remaining essentially unchanged.